กลวิธีโน้มน้าวในหนังสือธรรมะทางพุทธศาสนา ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีและพระมหาสมปอง ตาลปุตโต

Authors

  • ภัศรวิชญ์ ทองทวี
  • ซัลมาณ ดาราฉาย

Keywords:

กลวิธีโน้มน้าว, ภาษาโน้มน้าว, หนังสือธรรมะทางพุทธศาสนา

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีโน้มน้าวในหนังสือธรรมะทางพุทธศาสนาของ
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี และพระมหาสมปอง ตาลปุตโต เป็นบทความวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลภาษาจากข้อความเทศนาธรรมในหนังสือธรรมะที่เขียนโดยพระภิกษุ 2 รูป ได้แก่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี และพระมหาสมปอง ตาลปุตโต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคืออัตราส่วนร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า กลวิธี
โน้มน้าวในหนังสือธรรมะของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี จำแนกเป็น 9 ประเภท เรียงตามลำดับความถี่ในการปรากฏจากมากไปน้อย ได้แก่ การแสดงเหตุผล (ร้อยละ 23.19) การถาม (ร้อยละ 21.47) การแสดงความต่าง (ร้อยละ 16.74) การแสดงความเห็น (ร้อยละ 12.24) การแสดงเงื่อนไข (ร้อยละ 9.73) การเปรียบเทียบ (ร้อยละ 5.39) การสั่ง (ร้อยละ 5.17) การกล่าวอ้างพุทธพจน์ (ร้อยละ 3.23) และการแสดงตัวอย่าง (ร้อยละ 2.84) ส่วนกลวิธีโน้มน้าวในหนังสือธรรมะของพระมหาสมปอง ตาลปุตโต จำแนกเป็น 9 ประเภท เรียงตามลำดับความถี่ในการปรากฏจากมากไปน้อย ได้แก่ การแสดงเหตุผล (ร้อยละ 22.56) การแสดงความต่าง (ร้อยละ 20.64) การแสดงความเห็น (ร้อยละ 19.47) การถาม (ร้อยละ 15.04) การแสดงเงื่อนไข (ร้อยละ 9.17) การเปรียบเทียบ (ร้อยละ 5.65) การสั่ง (ร้อยละ 4.17) การแสดงตัวอย่าง (ร้อยละ 2.26) และการกล่าวอ้างพุทธพจน์ (ร้อยละ 1.04) กล่าวได้ว่า พระภิกษุทั้ง 2 รูป เลือกใช้กลวิธีโน้มน้าวที่หลากหลายผสมผสานกันในการเรียบเรียงข้อความในหนังสือธรรมะทางพุทธศาสนาเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดความเชื่อของผู้อ่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้อ่านมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาในที่สุด

Downloads

Published

19-01-2021