วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา https://js.human.nrru.ac.th/index.php/humanities วารสารวิชาการ (Academic journal) หมายถึง วารสารที่ตีพิมพ์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ และจะต้องผ่านการตรวจคุณภาพบทความโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ โดยวารสารวิชาการเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับการนำเสนอผลงานวิจัย งานวิชาการหรือความเห็นทางวิชาการใหม่ ๆ เพื่อรับการตรวจสอบและวิพากษ์ผลงานในกลุ่มผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ วารสารวิชาการมีความสำคัญในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ ความคิดเห็นจาการศึกษาค้นคว้า การวิจัย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในบริบทต่าง ๆ ของวิทยาการที่หลากหลาย เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย เผยแพร่ไปยังประชาคมวิชาการ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่นที่สามารถนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และค้นคว้าสำหรับคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร นักศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไป จึงได้จัดทำวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาขึ้นในปีงบประมาณ 2563 มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม โดยบทความทุกเรื่องได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความ เชี่ยวชาญทางด้านสาขาวิชาต่าง ๆ จากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา th-TH วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา การศึกษาอนุภาคในบทละครนอกเรื่องโม่งป่า เพื่อหาแนวทางการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย https://js.human.nrru.ac.th/index.php/humanities/article/view/28 <p><span class="fontstyle0">บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนุภาคที่ปรากฏในบทละครนอกเรื่องโม่งป่า จากนั้นจึงนํามาวิเคราะห์หาแนวทางการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยที่มาจากอนุภาคในบทละครเรื่องโม่งป่า ซึ่งเป็นการค้นหาอนุภาคที่เกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ สิ่งมหัศจรรย์ และสิ่งแปลกประหลาดพิสดารที่สอดแทรกอยู่ในบทละคร<br>จากการศึกษาพบว่า อนุภาคที่ปรากฏในบทละครเรื่องโม่งป่า แบ่งออกเป็น 8 ลักษณะ ประกอบด้วย อนุภาคการแปลงกายของตัวละคร อนุภาคอาวุธและสิ่งของวิเศษ อนุภาคเทวดาผู้ทําหน้าที่ช่วยเหลือ อนุภาคเหตุการณ์หรือพฤติกรรม อนุภาคการเนรมิตสิ่งต่าง ๆ และร่ายมนตร์คาถา อนุภาคการฟื้นคืนชีพ อนุภาคตัวละคร อมนุษย์และสัตว์ และอนุภาคการกําเนิดของตัวละครที่ผิดปกติ อนุภาคเหล่านี้เป็นประเด็นที่สําคัญในการนําไปใช้ในการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ไทยในรูปแบบต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างแรงบันดาลใจโดยการหยิบยกประเด็น<br>ที่น่าสนใจเกี่ยวกับอนุภาคในบทละครเรื่องโม่งป่า นํามาสร้างเป็นแนวความคิดหลักถ่ายทอดผ่านการแสดงนาฏศิลป์ไทยรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การแสดงรําและระบํา การแสดงละครไทยทั้งแบบดั้งเดิมและละครสมัยใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมปัจจุบัน โดยแนวความคิดนี้สามารถนําไปสู่การสร้างสรรค์องค์ประกอบการแสดงอื่น ๆ ประกอบด้วย บทละคร ลีลาทางนาฏศิลป์ เครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี อุปกรณ์ประกอบการแสดง และพื้นที่การแสดง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการและสามารถนําไปต่อยอดในด้านการสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏศิลป์ไทย รวมถึงเป็นการสืบสานวรรณคดีที่เก่าแก่ไทยให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักและตระหนักถึงคุณค่าของวรรณคดีไทย</span></p> ศริยา หงษ์ยี่สิบเอ็ด Copyright (c) 2021 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0 2021-12-02 2021-12-02 2 1 1 10 กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย https://js.human.nrru.ac.th/index.php/humanities/article/view/31 <p><span class="fontstyle0">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง สู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ดําเนินการ 4 ขั้นตอน มีผลการวิจัย ดังนี้<br>1. หัวหน้าแผนก ครูและบุคลากรมีความต้องการกลยุทธ์บริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาวิทยาลัย จํานวน 6 องค์ประกอบ ในระดับมาก<br>2. กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่สร้างขึ้นมี 6 กลยุทธ์หลัก 12 กลยุทธ์ย่อย<br>3. วิทยาลัยการอาชีพสตึก มีการดําเนินงานตามกลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาในระดับมากที่สุด ทุกกลยุทธ์<br>4. วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ได้รับการประกาศเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาและได้รับการคัดเลือกเป็นสถานศึกษาคุณธรรมอาชีวศึกษาต้นแบบจากสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา</span> </p> ธีรกรณ์ พรเสนา Copyright (c) 2021 ธีรกรณ์ พรเสนา https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0 2021-12-02 2021-12-02 2 1 11 19 การใช้เฟซบุ๊กเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ รายวิชาสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ https://js.human.nrru.ac.th/index.php/humanities/article/view/34 <p><span class="fontstyle0">การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ หลังการจัดการเรียนรู้นอกชั้นเรียนโดยใช้เฟซบุ๊กและ 2) วัดเจตคติของนักศึกษาที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้นอกชั้นเรียนโดยใช้เฟซบุ๊กกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จํานวน 52 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จํานวน 3 แผน รวม15 ชั่วโมง แบบวัดเจตคติ และแบบทดสอบการออกเสียงสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีกลุ่มเดียว (one sample t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา<br>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง หลังการจัดการเรียนรู้นอกชั้นเรียนโดยใช้เฟซบุ๊กพบว่าการทดสอบหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 37.46 คะแนน จากคะแนนเต็ม 50คิดเป็นร้อยละ 74.92 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์ 70% กับคะแนนสอบหลังเรียนของนักศึกษาพบว่าคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05และ 2) ผลการวัดเจตคติของนักศึกษาที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้นอกลชั้นเรียนโดยใช้เฟซบุ๊กพบว่าหัวข้อการประเมินที่มีระดับคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ช่วยให้ได้ฝึกฝนได้ด้วย ตนเองได้บ่อยครั้งตามที่ต้องการตามความสามารถในการเรียนรู้ของแต่ละคน (</span><span class="fontstyle2">M</span><span class="fontstyle0">=4.65, </span><span class="fontstyle2">S.D.</span><span class="fontstyle0">=0.56) รองลงมาคือ ทําให้มีความสะดวกในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารพร้อมกัน (</span><span class="fontstyle2">M</span><span class="fontstyle0">=4.63, </span><span class="fontstyle2">S.D.</span><span class="fontstyle0">=0.53) และมีความสะดวกในการเรียนรู้ได้เมื่อ มีเวลาว่างและสามารถเรียนรู้ที่ใดก็ได้ (</span><span class="fontstyle2">M</span><span class="fontstyle0">=4.56, </span><span class="fontstyle2">S.D.</span><span class="fontstyle0">=0.64)</span> </p> รัชดา พงศ์ไพรรัตน์ Copyright (c) 2021 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0 2021-12-02 2021-12-02 2 1 21 35 LEARNING ICT TOOLS THROUGH TASK – BASED APPROACH : A CASE STUDY OF TEACHERS OF ENGLISH IN UDON THANI PROVINCE, THAILAND https://js.human.nrru.ac.th/index.php/humanities/article/view/35 <p><span class="fontstyle0">The study aimed to investigate the use of a teacher training programme for teachers of English focusing on learning ICT tools for self-directed professional development. The participants were 32 in-service teachers of English in primary and secondary schools in Udon Thani province. They attended a two-day workshop specifically designed by using task-based approach as a framework. The research instruments comprised three sets of questionnaires. The results<br>revealed that the participants were aware of the importance of professional development and the potential of ICT as a powerful tool for the development of both linguistic and pedagogical skills. However, they needed to be trained in how to use the tool effectively. Moreover, they perceived that a task-based approach was an effective way to learn how to use ICT tools in a limited timeframe. Finally, the follow-up questionnaire revealed that internal and external constraints affected the application of the knowledge they had learned from the training into their classrooms</span> </p> WORAWOOT TUTWISOOT Copyright (c) 2021 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0 2021-12-02 2021-12-02 2 1 37 50 ลักษณะการใช้คําย่อในเฟซบุ๊ก https://js.human.nrru.ac.th/index.php/humanities/article/view/36 <p><span class="fontstyle0">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาลักษณะการใช้คําย่อที่ปรากฏในเฟซบุ๊กโดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลที่ ปรากฏการใช้คําย่อจํานวน 150 ข้อมูลจากผู้ใช้เฟซบุ๊กระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 ผลการวิจัยพบว่ามีข้อมูลการใช้คําย่อใน 5 ประเภทคือ 1.ข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว 2.ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเสนอ ข่าวสาร 3.ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเสนอขายสินค้า 4.ข้อมูลที่เกี่ยวกับการรับสมัครงานและ 5.ข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน<br>ทั้งนี้ผลการวิจัยข้อมูลทั้ง5ประเภทพบว่ามีการใช้คําย่อใน 8 ลักษณะคือ 1. ลักษณะการใช้คําย่อที่เกี่ยวกับจังหวัดกระทรวงกรม 2.ลักษณะการใช้คําย่อเกี่ยวกับปริญญาบัตร 3.ลักษณะการใช้คําย่อที่เกี่ยวกับยศตําแหน่งคํานําหน้า 4.ลักษณะการใช้คําย่อที่เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 5.ลักษณะการใช้คําย่อที่เกี่ยวกับหน่วยงานและองค์การต่างๆ 6.ลักษณะการใช้คําย่อที่เกี่ยวกับเบ็ดเตล็ดอื่นๆ 7.ลักษณะการใช้คําย่อจากคําภาษาอังกฤษ และ 8.ลักษณะการใช้คําย่อที่ผู้ส่งสารคิดขึ้นใหม <br></span> </p> ลู่หลานเหวย ลู่หลานเหวย วาสนา กาญจนะคูหะ Copyright (c) 2021 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0 2021-12-02 2021-12-02 2 1 51 57 พระพุทธศาสนากับนวัตกรรม https://js.human.nrru.ac.th/index.php/humanities/article/view/37 <p><span class="fontstyle0">บทความเรื่องพระพุทธศาสนากับนวัตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความหมายของนวัตกรรม 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมกับการศึกษา และ 3) เพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้ที่มีอยู่ในนวัตกรรมทางพระพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่า นวัตกรรม หมายถึง ทําใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ส่วนนวัตกรรมกับการศึกษานั้น สรุปได้ 4 ประการ คือ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความพร้อม การใช้เวลาเพื่อการศึกษา ประสิทธิภาพในการเรียน ส่วนองค์ความรู้ที่มีอยู่ในนวัตกรรมทางพระพุทธศาสนา คือเน้นหลักพุทธวิธีการสอน 4 ส คือ </span><span class="fontstyle0">สันทัสสนา สมาทปนา สมุตเตชนา สัมปหังสนา</span> </p> มานิตย์ อรรคชาติ Copyright (c) 2021 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0 2021-12-02 2021-12-02 2 1 59 68 ศิลปศึกษาท่ามกลางกระแสรูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 https://js.human.nrru.ac.th/index.php/humanities/article/view/38 <p><span class="fontstyle0">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอกระบวนการปรับตัวของวงวิชาการศิลปศึกษา ท่ามกลางกระแส รูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21ที่มีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาวงการศึกษาในทุกแขนงทั่วโลกตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยปัจจุบันวงวิชาการศิลปศึกษาในประเทศไทยมีการปรับตัวและพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21แต่กระบวนการปรับตัวและพัฒนาดังกล่าวยังเป็นไปภายใต้กรอบมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 และมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558 รวมถึงระบบประกันคุณภาพการศึกษาโดย สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. และ สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนภายใต้กรอบมาตรฐานเหล่านี้เต็มไปด้วยระเบียบข้อบังคับมากมาย การเรียนการสอนศิลปศึกษาจึงขาดความหลากหลายเชิงวิชาการ ไม่สามารถบูรณาการตามแนวคิดการสอนในศตวรรษที่ 21 ได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอกระบวนการพัฒนาครูศิลปศึกษาด้วยรูปแบบการสอนในศตวรรษที่ 21 ไว้ในช่วงท้ายของบทความ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิต และทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในศตวรรษที่ 21 ต่อไป</span> </p> สืบศักดิ์ สิริมงคลกาล Copyright (c) 2021 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0 2021-12-02 2021-12-02 2 1 69 81 4 วิถีชุมชนสู่พิพิธภัณฑ์มีชีวิต https://js.human.nrru.ac.th/index.php/humanities/article/view/39 <p><span class="fontstyle0">บทความเรื่อง 4 วิถีชุมชนสู่พิพิธภัณฑ์มีชีวิต เป็นการนําเสนอสาระผ่านทัศนคติและการศึกษาข้อมูลจากการประมวลสื่อ และประสบการณ์ตรงของคณะผู้เขียน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสื่อสารการวิเคราะห์ และวิพากษ์ โดยยกตัวอย่างการศึกษาบริบทเรื่องการออกแบบนิทรรศการหรือพิพิธภัณฑ์มีชีวิต 4 พื้นที่ ได้แก่ ตลาดสามชุก ตลาดน้ําอัมพวา ตลาดน้ําดําเนินสะดวก และตลาดคลองสวน100 ปีในส่วนของการใช้จุดเด่นเรื่องวิถีชีวิตของชุมชนเป็นกลไกสําคัญในการสร้างบรรยากาศ และความน่าสนใจภายในพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวาอันเป็นตัวอย่างในการสร้างแหล่งท่องเที่ยวทางสังคมและวัฒนธรรมที่สําคัญของประเทศไทยอันสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ “ไทยแลนด์ 4.0”ภายใต้แนวคิดการสร้างชุมชนนวัตวิถี</span></p> สุธิดา วรรธนะปกรณ สุทธิชาติ ใจชอบสันเทียะ ภักดี ปรีดาศักดิ์ นุสรา ทองคลองไทร อลิศา โชตินนท์ภิชา Copyright (c) 2021 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0 2021-12-02 2021-12-02 2 1 83 90