@article{หงษ์ยี่สิบเอ็ด_2021, title={การศึกษาอนุภาคในบทละครนอกเรื่องโม่งป่า เพื่อหาแนวทางการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย }, volume={2}, url={https://js.human.nrru.ac.th/index.php/humanities/article/view/28}, abstractNote={<p><span class="fontstyle0">บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนุภาคที่ปรากฏในบทละครนอกเรื่องโม่งป่า จากนั้นจึงนํามาวิเคราะห์หาแนวทางการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยที่มาจากอนุภาคในบทละครเรื่องโม่งป่า ซึ่งเป็นการค้นหาอนุภาคที่เกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ สิ่งมหัศจรรย์ และสิ่งแปลกประหลาดพิสดารที่สอดแทรกอยู่ในบทละคร<br>จากการศึกษาพบว่า อนุภาคที่ปรากฏในบทละครเรื่องโม่งป่า แบ่งออกเป็น 8 ลักษณะ ประกอบด้วย อนุภาคการแปลงกายของตัวละคร อนุภาคอาวุธและสิ่งของวิเศษ อนุภาคเทวดาผู้ทําหน้าที่ช่วยเหลือ อนุภาคเหตุการณ์หรือพฤติกรรม อนุภาคการเนรมิตสิ่งต่าง ๆ และร่ายมนตร์คาถา อนุภาคการฟื้นคืนชีพ อนุภาคตัวละคร อมนุษย์และสัตว์ และอนุภาคการกําเนิดของตัวละครที่ผิดปกติ อนุภาคเหล่านี้เป็นประเด็นที่สําคัญในการนําไปใช้ในการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ไทยในรูปแบบต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างแรงบันดาลใจโดยการหยิบยกประเด็น<br>ที่น่าสนใจเกี่ยวกับอนุภาคในบทละครเรื่องโม่งป่า นํามาสร้างเป็นแนวความคิดหลักถ่ายทอดผ่านการแสดงนาฏศิลป์ไทยรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การแสดงรําและระบํา การแสดงละครไทยทั้งแบบดั้งเดิมและละครสมัยใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมปัจจุบัน โดยแนวความคิดนี้สามารถนําไปสู่การสร้างสรรค์องค์ประกอบการแสดงอื่น ๆ ประกอบด้วย บทละคร ลีลาทางนาฏศิลป์ เครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี อุปกรณ์ประกอบการแสดง และพื้นที่การแสดง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เกิดประโยชน์ในแวดวงวิชาการและสามารถนําไปต่อยอดในด้านการสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏศิลป์ไทย รวมถึงเป็นการสืบสานวรรณคดีที่เก่าแก่ไทยให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักและตระหนักถึงคุณค่าของวรรณคดีไทย</span></p>}, number={1}, journal={วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา}, author={หงษ์ยี่สิบเอ็ด ศริยา}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={1-10} }