ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการการุณยฆาตและสิทธิการตาย

Authors

  • อลิษา รังสร้อย

Keywords:

ปัญหากฎหมาย, การุณยฆาต, สิทธิการตาย

Abstract

                  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการให้ผู้ป่วยตายโดยการุณยฆาต และเพื่อเปรียบเทียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำการุณยฆาตระหว่างกฎหมายไทยกับต่างประเทศ รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์และขอบเขตที่เหมาะสมต่อการให้ผู้ป่วยตายโดยการทำการุณยฆาตและการปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วย งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร (documentary research) ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
                 ผลการวิจัย พบว่า จากการศึกษาเรื่องแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการกระทำการุณยฆาตนั้นสังคมไทยยังไม่ยอมรับการที่จะยุติการรักษาผู้ป่วยแบบ Active euthanasia เพราะคำนึงถึงศีลธรรมอันดีและในทางพระพุทธศาสนาด้วยคำว่า ฆ่าคนเป็นบาป จากการเปรียบเทียบหลักกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำการุณยฆาต ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ จะเห็นว่ากฎหมายไทยยังไม่อนุญาตให้ทำการุณยฆาตแบบ Active euthanasia แต่มีปรากฏในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ ส่วนกฎหมายต่างประเทศให้การยอมรับการทำการุณยฆาต เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์ ในประเด็นเกี่ยวกับขอบเขตและการปฏิเสธการรักษาโดยให้การกระทำการุณยฆาตได้นั้น ผู้ป่วยควรมีสิทธิที่จะตัดสินใจและใช้สิทธิที่ตนมี การที่ผู้ป่วยร้องขอให้แพทย์จบชีวิตของตนได้นั้น ผู้ป่วยจะต้องทุกข์ทรมานจากโรคร้ายอย่างรุนแรงและแพทย์ได้รักษาทุกวิถีทางแล้วก็ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ จนกระทั้งแพทย์ได้ลงความเห็นในการรักษาผู้ป่วยว่าผู้ป่วยรายนี้ไม่มีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้และผู้ป่วยนั้นไม่สามารถที่จะมีชีวิตอยู่อีกได้ไม่นาน และได้รับความยินยอมของผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยแล้ว ก็สมควรที่จะให้แพทย์ทำการการุณยฆาตได้ โดยที่ให้ถือว่าแพทย์ไม่มีความผิดอาญา

Downloads

Published

19-01-2021